livescore ติอาโก้ อัลคันทาร่า กองกลางของ ลิเวอร์พูล ทีมดังแห่งศึกพรีเมียร์ลีก อังกฤษ ออกมาเปิดเผยถึงวิธีที่ เยอร์เก้น คล็อปป์ ได้ช่วยให้เขายกระดับฝีเท้าขึ้นมาจนกลายเป็นผู้เล่นคนสำคัญ และสามารถโชว์ฟอร์มได้อย่างโดดเด่นเมื่อฤดูกาลที่ผ่านมา ตามรายงานจาก ลิเวอร์พูลเอ็คโค
กองกลางทีมชาติสเปนย้ายมาจาก บาเยิร์น มิวนิค เมื่อซัมเมอร์ปี 2020 ด้วยค่าตัว 25 ล้านปอนด์ แต่ฤดูกาลแรกของเจ้าตัวต้องเจอกับปัญหาอาการบาดเจ็บ และการปรับตัวทำให้ยังไม่สามารถระเบิดฟอร์มได้
จนกระทั่งเมื่อซีซั่นที่ผ่านมาหลังจากได้คำแนะนำเรื่องการวิ่งและเคลื่อนที่จาก คล็อปป์ ก็ทำให้ ติอาโก้ กลับมาอยู่ในฟอร์มระดับเวิลด์คลาสอีกครั้ง และกลายเป็นกำลังสำคัญของทีมในการลุ้น 4 แชมป์ โดยได้ออกมาเปิดเผยถึงเรื่องนี้ว่า
“มันเป็นมากกว่าการวิ่งธรรมดา มันเป็นการวิ่งที่ถูกต้อง ความเข้มข้นระดับสูง และการออกตัวในช่วงเวลาที่ถูกต้อง เมื่อคุณพัฒนาจุดนี้มันก็ทำให้ทีมของคุณพัฒนาไปด้วย และในฐานะนักเตะคุณก็พัฒนาการเล่นขึ้นไปด้วย”
“มันเป็นประสบการณ์ที่สำคัญซึ่งผมได้รับในช่วง 2 ปีจากการสอนของผู้จัดการทีม แต่มันจะดีขึ้นกว่าเดิมในซีซั่นที่กำลังจะมาถึงนี้” ติอาโก้ กล่าว
สไลด์เข่าไปกับผืนหญ้า กระโดดตัวลอย หรือแม้กระทั่งตีลังกา หลังการยิงประตู กลายเป็นสิ่งคุ้นชินในสายตาแฟนบอล เมื่อการฉลองเหล่านี้กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับฟุตบอลในยุคปัจจุบัน
แน่นอนว่าเหตุผลหลักก็คือความสนุก เพราะคงไม่มีอะไรที่จะน่ายินดีไปกว่าการยิงประตูได้ ทว่ามันเป็นแค่ความสนุกจริงหรือ?
ติดตามเรื่องราวของศาสตร์นี้ไปพร้อมกับ Main Stand
การฉลองประตูในยุคแรก
ฟุตบอล ถือเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก เนื่องจากมันมีกฎกติกาที่ไม่ได้ซับซ้อนมากนัก ด้วยเป้าหมายหลักเพียงแค่การส่งบอลเข้าไปอยู่ในก้นตาข่ายคู่แข่งให้ได้ ใครทำได้มากกว่าภายในเวลาที่จำกัดคนนั้นคือผู้ชนะ
ดังนั้น ความสนุกของกีฬาชนิดนี้จึงอยู่ที่การยิงประตูที่มีรูปแบบหลากหลาย ตั้งแต่ง่ายๆไปจนถึงพิสดาร และหลายครั้งมันก็สามารถสร้างความตื่นเต้นให้แก่แฟนบอลในสนาม รวมไปถึงอีกหลายล้านคนที่เฝ้าดูผ่านหน้าจอโทรทัศน์
ทั้งนี้ นอกจากการยิงประตูแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สามารถสร้างความสนุกให้แฟนบอลได้ก็คือ “ท่าดีใจ” ที่หลายท่ากลายเป็นที่จดจำ ไม่ว่าจะเป็นท่า “Siu” ของ คริสเตียโน่ โรนัลโด้ ท่ากอดอกของ คีลิยัน เอ็มบับเป้ หรือท่าชี้มือขึ้นฟ้าของ ลิโอเนล เมสซี่ เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ท่าทางเหล่านี้อาจจะไม่ใช่สิ่งปกติ หากย้อนกลับไปในยุค 1940s-1950s เมื่อมันไม่ค่อยได้รับความสนใจจากแฟนบอลมากนัก และมักจะถูกตัดออกตอนรีเพลย์ด้วยซ้ำ หรือถ้าหากถูกกล้องจับภาพที่คุ้นชินก็จะเป็นผู้เล่นรีบกลับไปที่วงกลมกลางสนามเพื่อรอเขี่ยลูกมากกว่า
“วัตถุประสงค์หลักของฟุตบอลคือ การยิงประตู เพราะฉะนั้น มันจึงเป็นการกลับไปยังกลางสนามทันทีเพื่อเริ่มเกมใหม่และยิงประตูอีกครั้ง”มาร์ก เทอร์เนอร์ อาจารย์ด้านสังคมวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยโซเลนต์ ประเทศอังกฤษ อธิบายกับ DW
“มันจึงไม่ใช่การไปยืนอยู่หน้ากล้องและฉลองตามสไตล์ที่เฉพาะเจาะจง มันไม่สมเหตุสมผลที่จะทำแบบนั้น”
หรือบางครั้ง สิ่งที่แฟนบอลในยุคนั้นได้เห็น อาจจะเป็นการแสดงความดีใจแบบสงวนท่าที เช่น ยิ้มเล็กน้อย หรือแค่กำหมัดเล็กๆ ซึ่งต่างจากยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก
“พวกเขาค่อนข้างอนุรักษ์นิยมมาก พวกเขามีความเป็นชายมาก จึงไม่มีการแสดงความรู้สึกที่แท้จริง” เทอร์เนอร์ ซึ่งเป็นอาจารย์ประจำคณะธุรกิจ กีฬา และวิสาหกิจ กล่าวต่อ
“คนทำประตูได้ในยุค 1950s และต้น 1960s มีรีแอ็กชั่นหลังยิงประตูอยู่นะ มันเป็นสิ่งที่พวกเขาทำหลังจากยิงประตูได้ แต่มันไม่ใช่รีแอ็กชั่นที่ดูเกินจริง เป็นรีแอ็กชั่นที่เข้าใจได้ง่าย”
นอกจากนี้ การแสดงความดีใจแบบในยุคปัจจุบันอาจจะทำให้แฟนบอลหรือแม้กระทั่งเพื่อนร่วมทีมมองว่าเป็นคนแปลก แถมการเด่นอยู่คนเดียวก็ไม่ใช่สิ่งที่ควรทำ เพราะในยุคนั้น ฟุตบอลเป็นเรื่องของทีมมากกว่าตัวบุคคล
“พวกเขา(แฟนบอล)ไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่กับภาพที่น่าตื่นเต้นแบบนั้น พวกเขาไม่มีวิธีเข้าถึงผู้เล่นในช่วงเวลาหลังยิงประตู“ เทอร์เนอร์ อธิบาย
แล้วถ้าอย่างนั้น การฉลองหลังยิงประตูเริ่มมีความสำคัญตั้งแต่เมื่อไร?
โลกที่หมุนไป
“หากพูดถึงโรงงานรถยนต์ฟอร์ดในช่วงทศวรรษที่ 1940s-1950s จะพบว่าโรงงานฟอร์ดโดดเด่นขึ้นมาได้จากการผลิตครั้งละมากๆ มันเป็นมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ มันเป็นรถที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อการบริโภคจำนวนมาก”เทอร์เนอร์ กล่าว
“และผมคิดว่าการฉลองประตูในการแข่งขันก็มีที่มาจากสิ่งนั้น”
ทศวรรษที่ 1960 คือหนึ่งในยุคที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านเทคโนโลยีและวัฒนธรรม และมันก็ทำให้ผู้คนมีความเป็นปัจเจกมากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่นักฟุตบอล ที่สื่อทำให้พวกเขาโดดเด่นขึ้นมาในฐานะซูเปอร์สตาร์
การได้รับความสนใจเช่นนี้ทำให้นักฟุตบอลตระหนักถึงตัวตนของตัวเองมากขึ้น และมันก็ทำให้พวกเขามีความปัจเจกยิ่งขึ้นไปอีก และช่วงเวลาในสนามที่เป็นปัจเจกได้มากที่สุดก็คือตอนที่ยิงประตูได้
การแสดงความดีใจในยุคนั้นจึงเริ่มมีความแตกต่างและเป็นเอกเทศมากขึ้น ก่อนที่ฟุตบอลโลก 1970 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่แข่งขันฟุตบอลโลกในอเมริกาและมีการออกอากาศเป็นภาพสีในยุโรป ทำให้การฉลองหลังยิงประตูมีบรรยากาศที่เปลี่ยนไป
เพราะนอกจากความดีใจแล้ว มันยังมีความสุดเหวี่ยงและสะใจ ซึ่งหนึ่งในตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือท่าดีใจของ เปเล่ ที่กระโดดขี่เพื่อนร่วมทีมก่อนตะโกนร้องด้วยความดีใจ หลังโหม่งประตูขึ้นนำในเกมนัดชิงชนะเลิศกับอิตาลี ก่อนจะเอาชนะไปได้ 4-1 ในท้ายที่สุด
“ผู้คนกำลังดูอยู่ ผู้คนเคยเห็นการทำประตูเหล่านี้ ประตู ประตู และประตู ดังนั้น นักฟุตบอลจึงตระหนักได้ถึงสิ่งนั้น พวกเขาตระหนักได้ว่าพวกเขามีคนดูอยู่และมีสิ่งที่ต้องแสดงให้เห็น” เทอร์เนอร์ กล่าว
หลังจากนั้นไม่นาน การฉลองประตูก็เริ่มมีบทบาทสำคัญต่อฟุตบอล และการโห่ร้องด้วยความดีใจก็กลายเป็นการโห่ร้องเพื่อตัวเองมากขึ้น เพราะนักฟุตบอลเริ่มรู้ว่า ยิ่งพวกเขาแสดงความดีใจได้แปลกและแตกต่าง มันก็จะทำให้พวกเขาโด่งดังยิ่งขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น โรเจอร์ มิลลา กองหน้าทีมชาติแคเมอรูน แม้ว่าเขาจะลงเล่นในระดับนานาชาติมาตั้งแต่ปี 1973 แต่ช็อตที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จักมากที่สุดคือการฉลองประตูด้วยการเต้นระบำที่มุมธงในฟุตบอลโลก 1990 ที่อิตาลี
“ในช่วงทศวรรษที่ 1990s การฉลองประตูกลายเป็นผลสะท้อนของความเป็นตัวเอง เป็นการผสมผสานทางศิลปะกับการเล่นสนุกไม่จริงจัง มันมีเรื่องของการล้อเลียนมากๆ มันมีความเป็นสมัยใหม่จริงๆ“ เทอร์เนอร์ กล่าวต่อ
“มันเกือบจะเป็นเรื่องของการกระทำปกติ มันกลายเป็นเหมือนท่าโพสต์ และมันก็ไม่จำเป็นต้องสร้างขึ้นจากการแข่งขัน”
จากนั้น การแสดงความดีใจก็ได้ถูกใช้เป็นลายเซ็นของนักฟุตบอลผ่านการทำซ้ำๆจนติดตา ตัวอย่างเช่น ท่าชูมือขึ้นเหนือหัวของ อลัน เชียเรอร์ อดีตกองหน้าทีมชาติอังกฤษ และ นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด ที่ถูกล้อเลียนว่าดูเชยและน่าเบื่อ เป็นต้น
ตัวอย่างเห็นได้ชัดก็คือ เยอร์เกน คลินส์มันน์ ดาวยิงชาวเยอรมัน ที่มักจะถูกวิจารณ์ว่าชอบพุ่งล้มในกรอบเขตโทษ แต่เขาก็ตอบโต้มันด้วยการเอาท่าพุ่ง หรือ Diver มาเป็นท่าดีใจประจำตัวจนกลายเป็นเครื่องหมายการค้า
หรือในกรณีของ ร็อบบี้ ฟาวเลอร์ อดีตดาวยิงลิเวอร์พูล ที่ตอบโต้ข่าวลือว่าเขาเป็นพวกขี้ยาด้วยท่าดีใจสุดอื้อฉาวอย่าง “พี้โคเคน” ในเกมพบเอฟเวอร์ตันในปี 1999 ที่ท้ายที่สุดต้องทำให้เขาถูกแบนไปถึง 4 นัด และไม่ได้ใช้ท่านี้ที่ไหนอีกเลย
“นั่นอาจจะเพิ่มขีดความสามารถให้แก่บุคคลเพื่อตอบโต้คำวิจารณ์“ เทอร์เนอร์ อธิบาย
“เราไม่ควรกล่าวถึงมันน้อยกว่าความเป็นจริง คนทำประตูมักจะมีพื้นที่สำหรับการสื่อสารอยู่เสมอ ซึ่งอาจเป็นข้อความที่มีความสำคัญในทางการเมือง สำคัญในแง่บุคคล สำคัญในแง่ส่วนรวม หรือในฐานะส่วนหนึ่งของทีม”
ดังนั้น การแสดงความดีใจหลังยิงประตูจึงมาพร้อมกับวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน แต่ไม่ใช่ทุกท่าเป็นท่าที่ดี เพราะบางครั้งมันก็ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสั่นคลอนได้จากการกระทำที่อาจจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม
หนึ่งในนั้นคือท่าทำความเคารพแบบนาซีที่ เปาโล ดิ คานิโอ เคยทำสมัยค้าแข้งกับ ลาซิโอ เมื่อปี 2005 จนทำให้เขาถูกแบนไป 1 นัด ก่อนที่ในปี 2013 จอร์จอส คาติดิส แข้งของ เออีเค เอเธนส์ จะมาทำอีกครั้ง และทำให้แข้งวัย 20 ปีในตอนนั้น ถูกแบนจากทีมชาติกรีซตลอดชีวิตทั้งที่อ้างว่าไม่ได้ตั้งใจ
“ผมไม่ใช่ฟาสซิสต์ และผมคงไม่ทำอย่างนั้น หากรู้ว่ามันหมายความว่าอะไร” คาติดิส อธิบายใน Twitter ส่วนตัวเมื่อปี 2013
หรือในกรณีของ เอ็มมานูเอล อเดบายอร์ อดีตกองหน้า แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ที่วิ่งจากอีกฝั่งหนึ่งของสนามไปสไลด์เข่าต่อหน้ากองเชียร์ อาร์เซนอล ทีมเก่าของเขา ในเกมที่ทั้งสองทีมพบกันในปี 2009 จนถูกแบน 2 นัดด้วยข้อหาไม่เคารพคู่แข่ง